Pages

Sunday, June 7, 2020

ตลาดหุ้น มิ.ย.ส่อปรับฐาน โควิดไม่จบแถมสหรัฐฯ - จีนระอุ - ผู้จัดการออนไลน์

juraganluempang.blogspot.com


หุ้นไทยเริ่มฟื้นตัว หลังพฤษภาคมดัชนีรีบาวนด์กลับ 64 จุด โดยตลอดทั้งเดือนสถาบันในประเทศและรายย่อยเข้าเก็บหุ้นกว่า 3 หมื่นล้านบาท ขณะตั้งแต่ต้นปีต่างชาติขายสะสม 1.87 แสนล้านบาท ด้านกูรูเห็นพ้องตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นแรงจัด จากแรงคาดหวังสูง ทั้งที่ยังมีปัจจัยลบสำคัญกดดันทั้ง โควิด-19 และเทรดวอร์ระหว่างสหรัฐฯกับจีน ที่พร้อมกดดันให้เกิดการปรับฐานในเดือนมิถุนายน

เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ถือเป็นอีกเดือนสำหรับการฟื้นตัวของตลาดหุ้นไทย หลังจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น โดยภาพรวมตลอดทั้งเดือนดัชนีหลักทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 64.22 จุด จาก 1,278.63 จุด เมื่อวันที่ 5พ.ค.2563 มาอยู่ที่ 1,342.85 จุด เมื่อวันที่ 29พ.ค.2563

ขณะเดียวกันพบว่านักลงทุนต่างประเทศ ขายสะสม 3.15 หมื่นล้านบาท โดยสถาบันในประเทศซื้อสะสม 1.78 หมื่นล้านบาท ตามมาด้วยนักลงทุนทั่วไปซื้อสะสม 1.34 หมื่นล้านบาท และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซื้อสะสม 308.13 ล้านบาท ส่วนการซื้อขายสะสมตั้งแต่ต้นปีพบว่า นักลงทุนต่างชาติขายสะสมหุ้นไทยออกไป 1.87 แสนล้านบาท โดยนักลงทุนทั่วไป (รายย่อย) เป็นกลุ่มที่ซื้อสะสมมากที่สุด 1.13 แสนล้านบาท ตามมาด้วยสถาบันในประเทศ 7.39 หมื่นล้านบาท และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ 336.54 ล้านบาท

ขณะที่สถานกาณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในประเทศพอว่าอยู่ในสถานการณ์ที่ผ่อนคลาย เมื่อผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ และไม่พบการติดเชื้อของประชาชนในประเทศมาหลายวัน ทำให้รัฐบาลผ่อนปรนมาตรการควบคุมและป้องกันการติดต่อ จนทำให้สถานประกอบการหลายแห่ง และสถานที่ท่องเที่ยวกลับมาให้บริการอีกครั้ง ซึ่งนับเป็นปัจจัยบวกที่สนับสนุนทิศทางการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในต่างประเทศยังไม่มีท่าทียุติหรือคลี่คลายในหลายประเทศ จึงถือเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะต่อจากนี้มากน้อยเพียงใด รวมไปถึงทิศทางหรือกลยุทธ์การลงทุนในช่วงต่อจากนี้

โดยรวม มีการประเมินว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในเดือนมิถุนายนนี้ มีปัจจัยกดดันหลายปัจจัยที่นักลงทุนต้องจับตาอย่างใกล้ชิดนอกเหนือจาก โควิด-19 นั่นคือ ความขัดแย้ง ระหว่างสหรัฐฯกับจีนซึ่งมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น และอาจจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายการค้าใหม่ของแต่ละประเทศ อีกประเด็นคือการเร่งออกพันธบัตรเพื่อระดมเงินของหลายประเทศ อาจทำให้สภาพคล่องในระบบการเงินโลกลดลงชั่วคราว ขณะที่ปัจจัยบวกภายในประเทศอาจต้องรอถึงช่วงเดือนกรกฏาคม จากมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาท ของภาครัฐ หลังเพิ่งคลายมาตรการล็อกดาวน์ เฟส 3 ไปแล้วเมื่อเร็วๆนี้

ด้าน บล.เอเชียพลัส ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-พ.ค.) การลงทุนในตลาดหุ้นมีความผันผวนมาก โดยในช่วงต้นปีมีประเด็นบวกจากสงครามทางการค้าสหรัฐฯและจีน ที่ยุติลงชั่วคราวทำให้ดัชนีขึ้นไปอยู่จุดสูงสุด 1,600 จุด แต่หลังจากนั้นเกิดการแพร่ระบาดของ โควิด-19 และการเจรจาลดกำลังการผลิตรัสเซียและกลุ่มโอเปกที่ไม่ได้ข้อยุติทำให้น้ำมันดิบปรับลงแรง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้กดดันให้ดัชนีหลักทรัพย์ลดลงไปกว่า 969 จุด หรือ 38%

ดังนั้น สิ่งที่นักลงทุนต้องติดตามต่อจากนี้ คือ ผลจากการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์เฟส3 จะทำให้กำลังซื้อภายในประเทศกลับมาได้มากน้อยเพียงใด ขณะเดียวกันต้องติดตามว่ารัฐบาลจะมีการออกมาตรการฟื้นฟูกระตุ้นเศรษฐกิจอะไรออกมาบ้าง จากที่เคยชี้แจงก่อนหน้า มีเพียงการเตรียมแผนกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ และสิ่งสำคัญคือการกลับมาแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกที่ 2 รวมไปถึงข้อขัดแย้งด้านการระหว่างสหรัฐฯและจีนรอบนี้จะรุนแรงมากน้อยเพียงใด

นั่นเพราะ ปัจจุบันการซื้อขายของตลาดหุ้นไทยอยู่บน P/E ที่ระดับ 21 เท่า ซึ่งถือว่าสูงตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาค ที่อยู่ระดับ 11.17.5 เท่า สะท้อนว่าหุ้นไทยไม่ได้ถูกมากอย่างที่หลายฝ่ายเข้าใจ น่าจะทำให้เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศยังไม่ไหลกลับเข้ามาที่ตลาดหุ้นไทยในช่วงเวลานี้ อีกทั้งที่ผ่านมานักลงทุนสถาบันในประเทศมีการเข้าลงทุนอย่างต่อเนื่อง และหากเดือนมิถุนายนไม่มีแรงซื้อเพิ่มเติมอาจเห็นการปรับฐานของตลาดหุ้นไทยเกิดขึ้น

โดย “เทิดศักดิ์ ทวีธีระรรม” รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส แสดงความเห็นว่า ตลาดหุ้นไทยยังมีแรงกดดันสำคัญจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 และ สงครามการค้าสหรัฐฯและจีนที่ต้องจับตากันอย่างใกล้ชิด ประกอบกับการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจ (GDP)ในปีนี้คาดว่าหดตัวหรือติดลบ 5.7% โดยไตรมาส 2/63 จะหดตัวมากที่สุดราว 11% จากนั้นไตรมาส 3/63 ดีขึ้นมาติดลบ 6% และไตรมาส 4/63 ติดลบ 4.5% ส่วนปี 2564 คาด GDP กลับมาเติบโต 3.6% ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะติดลบ 6.7% และปี 2564 โต 6.1%

ทำให้ บล. เอเซียพลัส ปรับลดประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในปีนี้เหลืออยู่ 6.88 แสนล้านบาท หรือ กำไรต่อหุ้น (EPS) อยู่ที่ 64 บาท ลดลงจากปีก่อน 27.5% แต่ปี 2564 จะกลับมาเติบโต 21% หรือ EPS อยู่ที่ 77.4 บาท ทำให้ดัชนี SET ปีนี้จะเหลือไม่เกิน 1,200 จุด และปีหน้าเป้าหมายดัชนีอยู่ที่ 1,400 จุด

"เม็ดเงินต่างประเทศ ยังไม่น่าจะไหลกลับเข้ามาในระยะสั้น เราอยู่ Valuation สูง พฤติกรรมตลาดตอนนี้มองว่าเป็น trading ไม่ใช่ซื้อลงทุนความผันผวนก็ยังมีมาก เพราะปัจจัยสำคัญทั้งเรื่อง โควิด-19 และ Trade war นั้น 2 factor กดดันอยู่ เศรษฐกิจไทยทั้งปีภาพหดตัว 5.7% โดยจุดต่ำสุดน่าจะอยู่ไตรมาส 2 เห็น drop 11% จากจำนวนคนว่างงาน นักท่องเที่ยวหายไป หุ้นขึ้นไปเพราะ price in อนาคต มองมีความเสี่ยง" นายเทิดศักดิ์ กล่าว

ด้าน “อภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล” ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บล. ทิสโก้ จำกัด มองว่า ดัชนี (SET Index) วิ่งขึ้นแบบไม่ยั่งยืน จาก 3 เหตุผลหลัก คือ ระดับการประเมินมูลค่าหุ้นไทยจะตึงตัวมาก ขณะเดียวกันตัวช่วยต่าง ๆ ที่เคยประคับประคองสถานการณ์ในช่วงก่อนหน้านี้จะเริ่มสิ้นสุดลงในเดือนนี้ และการปรับขึ้นรอบนี้มีการพักตัวน้อยมาก นับจากจุดต่ำสุดที่บริเวณ 970 จุด ฟื้นตัวขึ้นมาเกือบ 40% แล้ว แต่ยังไม่เห็นดัชนีสัปดาห์ไหนปรับฐานลงอย่างมีนัยสำคัญทำให้มูลค่าหุ้นไทยในปัจจุบันตึงตัวมากขึ้น และภาวะตลาดหุ้นช่วงนี้เป็นเพียงการเทรดดิ้ง เก็งกำไรระยะสั้นเท่านั้น ดังนั้นนักลงทุนควรทยอยขายกระชับพอร์ตและถือเงินสดเพิ่มเพื่อรอจังหวะตลาดปรับฐาน

โดยกลยุทธ์ลงทุนแนะนำ หุ้นพื้นฐานดีขนาดใหญ่ถึงขนาดกลางที่ราคายังปรับตัวขึ้นน้อยกว่าตลาด (Laggards) และที่สำคัญยังมีอัพไซด์น่าสนใจ แนะนำ AMATA, CK, KBANK, SCCC รวมถึงหุ้นที่แนวโน้มกำไรยังเติบโตได้ทั้ง 2 ปีข้างหน้า ท่ามกลางวิกฤติ โควิด-19 สวนทางกำไรตลาดปีนี้ที่คาดว่าจะลดลงกว่า 30% อาทิ BCH, TVO ส่วนภาพรวมดัชนีตลอดเดือนมิถุนายน มีแนวรับทีระดับ 1,320, 1,300, 1,270-1,280 และแนวต้นที่ระดับ 1,360, 1,390-1,400 จุด ตามลำดับ โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม คือ พัฒนาการของความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-จีนระลอกใหม่ และโอกาสเกิดการผิดนัดชำระหนี้-การล้มละลายของบริษัทที่ไม่สามารถปรับตัวให้รอดพ้นจากวิกฤติ โควิด-19 ได้

สำหรับประเทศไทย มองว่าการคลายล็อกดาวน์เฟส 3 ช่วงต้นเดือนจะเป็นผลดีต่อเนื่องต่อแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและกำไรบริษัทจดทะเบียนช่วงครึ่งปีหลัง หนุนดัชนีมีโอกาสแกว่งซิกแซกขึ้นทดสอบระดับ 1,360 จุด ซึ่งเป็นกรณีที่หลัง ประเทศไทยควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีมาก

“วิลาสินี บุญมาสูงทรง” ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล. โกลเบล็ก จำกัด ประเมินว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวขึ้นในลักษณะไซด์เวย์ขึ้นโดยมีแรงสนับสนุนจากการผ่อนคลายล็อกดาวน์ต่อเนื่อง หลังจากพบจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 น้อยลง และมีแนวโน้มคลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งก็มีโอกาสเห็นการผ่อนคลายต่อเนื่องในเฟส 4 โดยล่าสุดที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.ก. กู้เงิน 3 ฉบับ วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท ประกอบกับกระทรวงการคลัง เตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติจัดตั้งกองทุน 5 หมื่นล้านบาท เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน)ซึ่งจะส่งผลในเชิงบวกต่อภาคธุรกิจการลงทุน รวมถึงราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับขึ้น หลังจากกำลังการผลิตน้ำมันทั่วโลกปรับตัวลดลง และความต้องการใช้น้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังจากหลายประเทศทยอยปลดล็อกดาวน์ ส่งผลให้ฝ่ายวิจัยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีอยู่ในระดับ 1,330-1,385 จุด

“ปัจจัยที่ต้องติดตามคือ ปัจจัยกดดันจากต่างประเทศ อาทิ การชุมนุมประท้วงในฮ่องกง แม้กระทบกับประเทศไทยโดยตรงไม่มาก แต่เป็นความกังวลว่า อาจจะนำไปการปะทุครั้งใหม่ของสงครามการค้า (เทรดวอร์) ระหว่างสหรัฐและจีน รวมทั้งเหตุจลาจลในสหรัฐอเมริกา หากมีการขยายวงกว้างและยืดเยื้ออาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และปัจจัยภายในประเทศจากความไม่แน่นอนของเสถียรภาพการเมือง ปัญหาภัยแล้งในประเทศที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อรายได้ และกำลังซื้อของเกษตรกร”

นอกจากนี้ ยังคงต้องจับตาการเปิดเผยตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนพฤษภาคม ของจีน เช่นเดียวกับ EU ที่จะมีการรายงานตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนพฤษภาคม อัตราว่างงานเดือนเมษายน และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเมษายน รวมทั้งสหรัฐฯ ในเปิดเผยตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนพฤษภาคมดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนพฤษภาคม และดัชนีภาคบริการเดือนพฤษภาคม

ขณะเดียวกัน หลังจากการปลดล็อคเฟส3 ครั้งนี้ ทำให้หุ้นที่น่าจับตาว่าจะได้รับประโยชน์จากมาตรการผ่อนคลาย ได้แก่SPA , MAJOR , CRC , CPN, SF และ HMPRO

ส่วนทิศทางราคาทองคำ ภาพรวมได้แรงบวกจากกรณีที่สหรัฐฯตัดสิทธิพิเศษฮ่องกง หลังจีนบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่เพื่อปกครองฮ่องกง นอกจากนี้การเกิดเหตุจลาจลในสหรัฐกว่า 50 เมือง หลังชายผิวดำเสียชีวิตขณะที่ตำรวจผิวขาวเข้าจับกุม ส่งผลให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าและหนุนให้ทองคำปรับตัวขึ้น ส่งผลให้ทางฝ่ายวิจัย คาดว่าราคาทองคำจะผันผวนในกรอบ 1,715 – 1,760 เหรียญสหรัฐต่อทรอยออนซ์ หรือ 25,790-26,530 บาทต่อบาททองคำ โดยเน้นซื้อเมื่ออ่อนตัวและขายทำกำไรที่แนวต้าน

หุ้นเด่น มิ.ย.เน้นหุ้นธีมเปิดเมืองเฟส 3-4 และหุ้น laggard

บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) มองว่า ราคาหุ้นในปัจจุบันค่อนข้างแพง และตลาดหุ้นมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการปรับฐาน อย่างไรก็ดี คาดว่าตลาดหุ้นจะยังไม่ลงแรงในเดือนมิถุนายน เนื่องจากปัจจัยบวกเรื่องการกลับมาเปิดเศรษฐกิจมีน้ำหนักมากกว่า ดังนั้น จึงมองว่าตลาดน่าจะพักฐานมากกว่าจะลงแรง โดยให้น้ำหนักไปที่การเปลี่ยนกลุ่มเล่นมากกว่า ทั้งนี้ มุมมองเดือนมิถุนายนจะเน้นไปที่เฟสถัดไปของการเปิดเศรษฐกิจ โอกาสที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับมาในไตรมาส 3 ปีนี้ และหุ้นกลุ่มหลักที่ราคาหุ้นยังปรับขึ้นไม่มาก เช่น ธนาคาร และโรงพยาบาล ในขณะเดียวกัน มุมมองว่าตลาดจะเทรดไซด์เวย์ในเดือนนี้ยังมีความเสี่ยงทางลงที่สำคัญสองประการ คือ สัญญาณที่ชัดเจนขึ้นว่า Covid-19 จะกลับมาระบาดระลอกสอง และ ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐเลวร้ายลงกว่าที่เป็นในขณะนี้

ดังนั้น ด้วยอานิสงส์จากการที่ตลาดหุ้นฟื้นตัวได้ดีในเดือนพฤษภาคม พอร์ตหุ้นของ บล.เคจีไอฯ จึงขยับขึ้นมา 6.6% ซึ่งดีกว่าดัชนี SET ที่ขยับขึ้นเพียง 2.6% โดยหุ้นในพอร์ตที่ราคาขยับขึ้นอย่างแข็งแกร่งคือ TFG ซึ่งผลประกอบการไตรมาสแรกออกมาดี และ CPN ซึ่งได้อานิสงส์จากสภาวะด้านบวกเนื่องจากได้รับอนุญาตให้กลับมาเปิดห้างสรรพสินค้าได้ ทั้งนี้หุ้นทั้งสองตัวนี้วิ่งขึ้นมาจนถึงราคาเป้าหมายของเราในช่วงก่อนสิ้นเดือนเล็กน้อย และ บล.เคจีไอฯ ได้ปิดสถานะการถือหุ้นสองตัวดังกล่าว ณ ราคาเป้าหมาย ส่วนหุ้น CPALL ขยับลดลง 2.1% เนื่องจากผลประกอบการไตรมาสแรก ไม่น่าตื่นเต้น ทั้งนี้ สำหรับงวด 5 เดือนปี 63 พอร์ตหุ้นของ บล.เคจีไอฯ ลดลง 11.2% แต่ยังคงเด่นกว่าดัชนี SET ที่ลดลง 13.1% YTD

โดยมุมมองตลาดหุ้นเดือน มิ.ย. น่าจะไซด์เวย์ และด้วยปัจจัยแวดล้อมที่ยังเป็นบวกอยู่คาดว่าตลาดหุ้นจะเกิดการเปลี่ยนกลุ่มเล่น มากกว่าจะปรับฐานอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่ง บล.เคจีไอฯมองว่าดัชนี SET น่าจะพักฐานในเดือนมิถุนายน โดยแม้ว่าดัชนี SET จะเหลือ upside ถึงเป้าปีนี้ของ บล.เคจีไอฯ ที่ 1,370 อีกแค่ 2% แต่มองว่าปัจจัยต่าง ๆ ในตลาดยังคงเป็นบวก และในอีกสองสามสัปดาห์ข้างหน้า ราคาหุ้นที่แพงมากก็น่าจะทำให้มีการเปลี่ยนกลุ่มมากกว่าจะเกิดการปรับฐานอย่างมีนัยสำคัญ บล.เคจีไอฯ มองว่าประเด็นเรื่องการกลับมาเปิดเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจโลกอีกครั้งกำลังมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ในขณะที่ยังไม่เห็นการเร่งตัวขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ทั่วโลกที่มีน้ำหนักมากถึงขนาดที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่ต้องกลับมาปิดเศรษฐกิจกันใหม่อีกรอบ สำหรับปัจจัยภายในประเทศ มองว่ามีความเป็นไปได้ที่อาจจะมีการเปิดให้นักท่องเที่ยวจากบางประเทศสามารถเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญกับประเทศไทยเพราะเศรษฐกิจไทยพึ่งพาภาคท่องเที่ยวอย่างสูง

ในขณะเดียวกัน มุมมองว่าตลาดจะเทรดไซด์เวย์นั้นมีความเสี่ยงทางลงอยู่ 2 ประการ คือ สัญญาณที่ชัดเจนขึ้นว่า โควิด-19 จะกลับมาระบาดระลอกสอง และความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐเลวร้ายลงกว่าที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน

หุ้นเด่นเดือนมิถุนายน จะเน้นที่เฟสถัดไปของหุ้นการเปิดเศรษฐกิจ และหุ้น laggard ซึ่ง บล.เคจีไอฯ ได้จัดธีมการเลือกหุ้นที่สอดคล้องกับมุมมองตลาด สี่ธีมด้วยกัน ธีมแรก คือหุ้นกลุ่มที่จะได้อานิสงส์จากการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์เฟสที่ 3 ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันนี้ และเฟสที่สี่ ซึ่งคาดว่าจะมีผลภายในสิ้นเดือนมิถุนายน จะส่งผลดีต่อธุรกิจในกลุ่มขนส่งมวลชนอย่างเช่น BEM และ BTS จากการที่จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ธีมที่สอง คือการเริ่มมีนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับเข้ามาในไตรมาส 3 ปี 63 จะช่วยหนุนราคาหุ้นอย่างเช่น AOT และ BDMS ซึ่งธีมนี้จะเป็นระยะยาวมากกว่าธีมการเปิดเศรษฐกิจ ธีมที่สาม หันกลับมาหาหุ้นธนาคารอย่าง BBL และ KBANK ซึ่งมีโอกาสปรับขึ้นจากระดับ valuations ที่ต่ำมากในปัจจุบัน ภายใต้สมมติฐานว่าสภาพคล่องที่ล้นตลาดจะทำให้มีการซื้อขายเปลี่ยนกลุ่มเล่น (sector rotation) และ ธีมที่สี่ เลือกที่จะจำกัดความผันผวนของพอร์ตด้วยการเพิ่มหุ้นโรงไฟฟ้าเช่น EGCO ซึ่งจะได้ประโยชน์หากมีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกในเดือนนี้


Let's block ads! (Why?)


June 07, 2020 at 07:10AM
https://ift.tt/2UgXKY0

ตลาดหุ้น มิ.ย.ส่อปรับฐาน โควิดไม่จบแถมสหรัฐฯ - จีนระอุ - ผู้จัดการออนไลน์
https://ift.tt/3ezGUvd
Home To Blog

No comments:

Post a Comment